วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การเขียนบรรณานุกรม

การเขียนบรรณานุกรม (Bibliography)http://chaiprakarn.ac.th
บรรณานุกรม (Bibliography) คือ รายชื่อหนังสือหรือวัสดุสารนิเทศที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเรียบเรียงหนังสือนั้น อาจอยู่ท้ายเล่มหรือท้ายบทแต่ละบทก็ได้ มีประโยชน์ให้ผู้อ่านได้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้น ผู้แต่งได้
ค้นมาจากแหล่งข้อมูลได้บ้าง เพื่อให้ผู้อ่านได้มีโอกาสค้นคว้าเพิ่มเติม
ประโยชน์ของบรรณานุกรม
บรรณานุกรม เป็นรายชื่อหนังสือหรือวัสดุที่ผู้เขียนให้ค้นคว้าประกอบการเขียนหนังสือเล่มนั้นมีไว้สำหรับให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนค้นคว้ามาจากที่ใด และถ้าผู้อ่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมก็หาอ่านได้จากหนังสือที่แสดงไว้ในบรรณานุกรม
รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม
ในการเขียนบรรณานุกรม มีรูปแบบที่กำหนดไว้ แต่ละสถาบันอาจแตกต่างกันในเรื่องเครื่องหมายและการย่อหน้า หรือสลับตำแหน่งข้อมูล แต่รายการที่เป็นข้อมูล แต่รายการที่เป็นข้อมูลหลักๆ จะไปแตกต่างกัน
รูปแบบของบรรณานุกรมแยกตามประเภทของสิ่งพิมพ์ดังนี้
๑. การลงรายการบรรณานุกรมหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง./ ชื่อหนังสือ./ ครั้งที่พิมพ์./ สถานที่พิมพ์./: /สำนักพิมพ์,/ ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: ศิลปะบรรณาคาร, 2542
หลักเกณฑ์การลงบรรณานุกรมหนังสือ มีดังนี้
๑.๑ การลงชื่อผู้แต่ง
๑) ผู้แต่งคนเดียวที่เป็นชาวไทย ให้ลงชื่อตามด้วยนามสกุลไม่ลงนามสกุลไม่ลงคำนำ
หน้านาม เช่น นาย นางสาว นายแพทย์ ดร.ศาสตราจารย์
เช่น นายไพฑูรย์ พงศะบุตร ใช้ว่า ไพฑูรย์ พงศะบุตร ศ.ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ ใช้ว่า ก่อ สวัสดิพาณิช
๒) ผู้แต่งคนเดียวที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ลงนามสกุลก่อนชื่อและใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น
เช่น เฮมมิงเวย์, เออร์เนสต์ Chart; Robert
๓) ผู้แต่ง ๒-๓ คน ให้ลงชื่อหมดทุกคนโดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น ใช้คำว่า “และ” เชื่อม
เช่น ประเสรฐ ณ นคร, และอุทิศ นาคสวัสดิ์ สนั่น สมิตร, ทองศุข พงศทัต, และบัวเรศ คำทอง
๔) ผู้แต่งมากกว่า ๓ คน ให้ลงชื่อคนแรกตามด้วยคำว่า “และคนอื่นๆ” สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคหลังผู้แต่งคนแรกตามด้วย “and others” หรือ “et al”
เช่น บรรจบ พันธุเมธา และคนอื่นๆ
Berdie,Rolph F., and others Berdie,Rolph F., et al.
๕) ผู้แต่งที่เป็นพระมหากษัตริย์ พระราชินี เจ้านาย และพระบรมวงศานุวงศ์ ให้คงราชทินนามฐานันดรศักดิ์ และใส่ไว้ท้ายชื่อ เช่น ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระพูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ.หญิง
๖) ผู้แต่งมิได้เขียนหนังสือเองแต่เป็นผู้รวบรวม ผู้จัดพิมพ์ หรือ บรรณาธิการ ให้ใส่วงเล็บ
เช่น ทวน วิริยาภรณ์ (ผู้จัดพิมพ์) สุชาติ สวัสดิศรี (บรรณาธิการ)
๗) ผู้แต่งเป็นสถาบัน องค์การ หน่วยราชการให้ลงรายการดังตัวอย่าง
เช่น ศึกษาธิการ,กระทรวง ธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย. รามาธิบดี, โรงพยาบาล.

๑.๒ การลงรายการชื่อหนังสือ ให้ลงต่อจากชื่อผู้แต่ง ขีดเส้นใต้หรือพิมพ์ตัวหนาและตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) เช่น ประยูร อุลุชาฎะ. จิตกรรมฝาผนัง.

๑.๓ การลงรายการพิมพ์ลักษณ์ รายการที่เกี่ยวกับ ได้แก่ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ผู้จัดพิมพ์ และปีที่พิมพ์ โดยดูรายละเอียดได้จากหน้าปกในหรือด้านหลังของหน้าปกใน ถ้าไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ให้ใช้ดังนี้
- หนังสือภาษาไทย ใช้คำย่อ ม.ป.ท. (ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์) โดยใส่ไว้ในวงเล็บ (ม.ป.ท.)
- หนังสือภาษาอังกฤษ ใช้คำย่อ n.p. (no placa of puplication) โดยใส่ไว้ในวงเล็บ (n.p.)
ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใช้ดังนี้
- หนังสือภาษาไทย ใช้คำย่อ ม.ป.ป. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) ใส้ไว้ในวงเล็บ (ม.ป.ท.ป.)
- หนังสือภาษาอังกฤษ ใช้คำย่อ n.d. (no date)

๒. การลงรายการบรรณานุกรมบทความในวารสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ.// “ชื่อบทความ,” / ชื่อวารสาร.// ตัวเลขของปีที่,
//////// ตัวเลขของฉบับที่ วัน เดือน ปี), เลขหน้า.

ตัวอย่าง
วิมล ไทรนิ่มนวล. “บัวหลวงดอกไม้ของนักเขียนซีไรท์,” ไลท์ แอนด์ แฟมิลี. 56.5
(พฤศจิกายน 2543), 184-185

๓. การรายการบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ.// “ชื่อบทความ,” /ชื่อหนังสือพิมพ์./ วัน เดือน ปี,/ หน้า.
ตัวอย่าง
พนิดา ไทยพิทักษ์กุล. “ไมรโครเวฟอันตราย? ใช้อย่างไรปลอดภัยสึด สุด “เดลินิวส์.
14 ธันวาคม 2543 หน้า 5.

๔. การลงรายการบรรณานุกรมบทความจากสารานุกรม
ชื่อผู้เขียนบทความ./ “ชื่อบทความ.”// ชื่อสารานุกรม.// เล่มที่.// เลขหน้า ที่ปรากฏบทความ



ตัวอย่าง
ธรรมรักษ์ การพิศิษฐ์. และสมบัติ ชุตินันท์. “แผนพัฒนาประเทศ.”
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 24 หน้า 277-313.

๕. การลงรายการบรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
ชื่อผู้ผลิตเนื้อหา.// ชื่อเรื่อง.// ประเภทของโสตทัศนวัสดุ.// ปีที่จัดทำ.
ตัวอย่าง
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา.
วีดีทัศน์. ม.ป.ป.

๖. การลงรายการบรรณานุกรมสืออิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้เขียน.// “ชื่อเรื่อง.” // ใน.// ชื่อเรื่องหลัก
(ที่อยู่ของเอกสารในอินเทอร์เน็ต) // ปีที่เผยแพร่ข้อมูล.
ตัวอย่าง
โอฬาร พิทักษ์วงศ์. และอื่นๆ. “กล้วยไม้.” ใน. ความรู้สู้วิกฤตเศรษฐกิจไทย.
(http;//web.ku.ac.th/agri/menu 101.thm) 13 มีนาคม 2542.


การเขียน และการพิมพ์บรรณานุกรม
๑. ในหน้าแรกของบรรณานุกรม ให้พิมพ์คำว่า บรรณานุกรม ไว้กลางหน้ากระดาษตอนบนไม่ต้องขีดเส้นใต้ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์คำว่า BIBLIOGRAPHY พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
๒. การเขียน หรือพิมพ์ บรรทัดแรกชิดขอบห่างจากริมกระดาษ ๑.๕ นิ้ว และถ้ามีข้อความต่อจากบรรทัดแรก ขึ้นบรรทัดที่ ๒ ให้ย่อหน้า ๘ ระยะตัวอักษร
๓. รายละเอียดของบรรณานุกรมเกี่ยวกับ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ ให้ใช้ข้อมูลจากกน้าปกใน ถ้าไม่มีหน้าปกในให้ใช้รายละเอียดจากปกนอก
๔. การจัดเรียงบรรณานุกรม ให้เรียงตามลำดับอักษรตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานโดยไม่ต้องใส่เลขลำดับรายการ ให้เรียงลำดับบรรณานุกรมภาษาไทยไว้ก่อน แล้วต่อด้วยบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น: